เมนู

รัตนสิกขาบทที่ 2


ในสิกขาบทที่ 2 มีวินิจฉัยดังนี้:-

[ว่าด้วยสถานที่ และของตกที่ควรเก็บไม่ควรเก็บ]


บทว่า วิสฺสริตฺวา แปลว่า ได้ลืมไว้. 5 เหรียญกษาปณ์ จาก
100 เหรียญ ชื่อว่า ปุณณปัตตะ (ร้อยละ 5).
คำว่า กฺยาหํ กริสฺสามิ แปลว่า เราจักกระทำอย่างไร
คำว่า อาภรณํ โอมุญฺจิตฺวา คือ ได้เปลื้องเครื่องประดับชื่อ
มหาลดามีด่า 9 โกฏิออกไว้.
บทว่า อนฺเตวาสี แปลว่า สาวใช้.
2 ชั่วขว้างก้อนดินตกแห่งวัดที่อยู่ ชื่อว่า อุปจาร ในคำว่า อปริกฺ-
ขิตสฺส อุปจาโร
นี้. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า สำหรับที่อยู่พัก ชั่วเหวี่ยง
กระด้งตก หรือชั่วเหวี่ยงสากตก (ชื่อว่า อุปจาร).
ในคำว่า อุคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ปาจิตฺติยสฺส นี้ มีวินิจฉัยว่า
ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นนิสสัคคิย-
ปาจิตตีย์ รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล
เจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ. ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งรัตนะมีมุกดา
เป็นต้นที่เหลือ เพื่อประโยชน์แก่ตนหรือแก่สงฆ์เป็นต้น เป็นทุกกฏ. สิ่งที่
เป็นกัปปิยวัตถุก็ดี เป็นอกัปปิยวัตถุก็ดี อันเป็นของคฤหัสถ์ ชั้นที่สุดแม้ใบ
ตาลเป็นเครื่องประดับหูเป็นของมารดา เมื่อภิกษุรับเก็บโดยมุ่งวัตรแห่งภัณฑา-
คาริกเป็นใหญ่ เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน. แต่ถ้าของ ๆ มารดาบิดาเป็นกัปปิย-
ภัณฑ์อันควรที่ภิกษุจะเก็บไว้ได้แน่นอน พึงรับเก็บไว้เพื่อประโยชน์ตน. แต่